ประวัติเมืองร้อยเอ็ด

- บรรพบุรุษชาวร้อยเอ็ด
ในปี พ.ศ. ๒๑๓๔ พระสงฆ์ของเวียงจันทน์ได้ขอให้พม่าส่งพระหน่อแก้วเชื้อพระวงศ์พระไชยเชษฐาธิราชคืนกลับมาเป็นกษัตริย์ เมื่อกลับถึงเวียงจันทน์พระหน่อแก้วได้ประกาศเอกราชจากพม่า แล้วจึงยกทัพไปตีเมืองหลวงพระบางได้ไว้ในอำนาจ และมีความสงบอยู่เกือบร้อยปี
- อพยพจากลานช้างสู่อีสาน
ฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าหัวครูโพนเสม็ดมีผู้รักใคร่นับถือมาก เกรงว่าจะคิดการแย่งชิงเอาบ้านเมือง จึงคิดการกำจัด แต่เจ้าหัวครูโพนเสม็ดรู้เสียก่อนจึงรวบรวมพวกพ้องเหล่าสานุศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ คน เดินทางหลบไป เมื่อผ่านไปทางใดก็มีราษฎรอพยพตามไปด้วยจนเดินทางถึงแขวงเมืองบันทายเพชร์ ดินแดนเขมร ฝ่ายพระเจ้ากรุงกัมพูชาได้สั่งให้มีการสำรวจสำมะโนครัวและให้เรียกเก็บเงินจากชาวเวียงจันทน์ ครัวละ ๒ ตำลึง เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเห็นว่า เป็นการเดือนร้อนแก่เหล่าศิษยานุศิษย์ จึงอพยพออกจากดินแดนเขมรจนบรรลุถึงเมืองนครกาละจำปากนาคบุรีศรี การเดินทางออกจากเมืองเวียนจันทน์จนถึงนครกาละจำปากนาคบุรีศรีนี้ เจ้าหัวครูโพนเสม็ดต้องอาศัยเจ้าแก้วมงคล (บรรพบุรุษชาวร้อยเอ็ด) เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด รองแม่กอง ในการควบคุมดูแลบริวารของท่านมาตลอดทาง
ฝ่ายนางเภา นางแพง ซึ่งเป็นธิดาของผู้ครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีเมื่อบิดาของนางถึงแก่พิราลัยแล้ว นางก็เป็นผู้บัญชาราชการบ้านเมืองต่อมา จนกระทั่งถึงปีที่เจ้าหัวครูโพนเสม็ดมาถึงเมือง นางทั้งสองทราบข่าวก็มีความเลื่อมใจ จึงพาแสนท้าวพญาเสนามาตย์ออกไปอาราธนาเจ้าหัวครูโพนเสด็ดเข้ามาในเมืองครั้งเวลาต่อมานางและประชาชนมีความเคารพนับถือเจ้าหัวครูโพนเสม็ดมากขึ้น และนางทั้งสองก็ชราลงมากจึงอาราธนาให้เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเป็นผู้ช่วยทำนุบำรุงฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
เมื่อเจ้าองค์หล่อได้เจริญวัยขึ้นหน่อยก็สามารถไปอยู่ที่ประเทศญวน ต่อมาได้เกลี้ยกล่อมสมัครพรรคพวกได้มากจึงยกกำลังมาล้อมเมืองเวียงจันทน์ เมื่อราว พ.ศ. ๒๒๔๕ จับ พระยาเมืองแสนประหารชีวิต เจ้าองค์หล่อได้ครองราชสมบัติต่อมา
ครั้น พ.ศ. ๒๒๕๒ ปรากฏว่าชาวเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี บางพวกได้ซ่องสุมพรรคพวกก่อการกำเริบเป็นโจรผู้ร้ายเที่ยวปล้นสะดมในตำบลต่างๆ ทำให้ราษฎรผู้มีความสุจริตธรรมต้องเดือนร้อนทั่วไป เจ้าหัวครูโพนเสม็ดได้พยายามปราบปรามโดยการเที่ยวอบรมสั่งสอนในทางดีก็หาได้ผลไม่ ครั้นจะทำการบำราบปราบปรามโดยอำนาจอาชญา ก็เป็นการเสื่อมเสียทางพรหมจรรย์ ทั้งจะเป็นที่ครหานินทาของประชาชนทั้งหลาย จึงดำริหาวิธีที่จะระงับเหตุร้ายโดยละม่อมที่สุดก็เห็นว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก เวลานี้ก็ทรงเจริญวัยขึ้นแล้ว และเป็นผู้ประกอบด้วยเกียรติยศเกียรติคุณอันดีงาน สมควรจะปกครองไพร่บ้านพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็นได้ จึงจัดให้ท้าวพระยาเสนาบดีแลบ่าวไพร่ออกไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์กับพระมารดาเข้ามายังเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี แล้วเจ้าหัวครูโพนเสม็ดก็กระทำพิธียกเจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินของนครกาละจำบากนาบุรีศรี และได้ถวายพระนามว่า “พระเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร” และได้เปลี่ยนนามเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีเป็นเมือง “นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี” ตั้งแต่นั้นมา เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ได้จัดการปกครองแลปราบปรามยุคเข็ญสงบราบคาบลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วเป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามยุคเข็ญนั้น
เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ก็เริ่มดำริหาเมืองขึ้น โดยให้มีการสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่หลายเมือง แล้วจัดให้บรรดาบุคคลที่มีปรีชาสามารถแลมีผู้รักใคร่นับถือออกไปเป็นเจ้าเมือง (เจ้าเมืองสมัยนั้นก็เสมือนกษัตริย์เมืองขึ้น เพราะการแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ ตลอดจนคำพูดที่ใช้ในสำนักของเจ้าเมืองนั้นๆ ก็ใช้เป็นราชาศัพท์) ให้จารย์หวดไปสร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองโขงตั้งจารย์หวดเป็นเจ้าเมือง ให้ท้าวจันทร์ (นับว่าเป็นน้องเจ้าแก้วมงคล) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง
ส่วนเจ้าแก้วมงคล หรือจารย์แก้วให้ไปสร้างเมืองทง (สุวรรณภูมิ) ให้เจ้าแก้วมงคลเป็นเจ้าเมือง (ชื่อของเจ้าแก้วมงคลในภายหลังก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมืองและนายอำเภอเมืองนี้ ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ เช่น พระยารัตนวงศา พระรัตนวงศาฯ หลวงรัตนาวงศา (เมืองนี้ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าเมืองสุวรรณภูมิแล้วยุบลงเป็นอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด ราว พ.ศ. ๒๔๕๔)
- เจ้าแก้วมงคล ผู้มีเชื้อสายกษัตริย์
เจ้าแก้วมงคล มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าจารย์แก้ว เพราะเคยบวชเป็นศิษย์เจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ด
ปี พ.ศ. ๒๒๓๑ สมเด็จพระเจ้าสุริยวงษาธรรมิกราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต เสด็จสวรรคต พระยาแสนสุรินทรลือชัยไกรเสนาบดีศรีสรราชสงคราม(ท้าวมละ) ตำแหน่งเมืองแสน(อัครมหาเสนาบดี) ชิงเอาราชสมบัติ เจ้าแก้วมงคลจึงหนีราชภัยลงมาทางใต้พร้อมด้วยเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ด
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๒๕๖ เจ้าแก้วมงคลช่วยเจ้าหน่อกษัตริย์และเจ้าราชครูหลวงสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างฝ่ายใต้สำเร็จ เจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็นพระเจ้ามหาชีวิตทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร สำหรับเจ้าแก้วมงคลนั้นมีผลงานมากอีกทั้งเป็นเชื้อพระวงศ์ล้านช้างด้วย พระองค์จึงมีพระราชโองการให้เจ้าแก้วมงคลนำกำลังคนในสังกัดของตนข้ามแม่น้ำโขงไปยังบริเวณริมแม่น้ำ(แม่น้ำเสียว) ซึ่งเป็นทำเลทุ่งกว้างสำหรับทำนาและให้แหล่งเกลือด้วย แล้วตั้งเป็นเมืองชื่อว่า ทุ่งศรีภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน)ให้เจ้าแก้วมงคล เป็นเจ้าผู้ครองเมือง มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดการบริหารบ้านเมืองแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการ
พ.ศ. ๒๒๖๘ เจ้าแก้วมงคล เจ้าเมืองท่งก็ถึงแก่พิราลัยเมื่อมีอายุ 84 ปีมีบุตรรวม ๓ คน คือ
- (๑) เจ้าองค์หล่อหน่อคำ เกิดกับธิดาเจ้านครน่าน(หลานเจ้านครน่าน) ต่อมาได้ครองนครน่าน
- (๒) ท้าวมืดดำดล หรือท้าวมืด (ปรากฏในพงศาวดารว่าเหตุที่ชื่อท้าวมืดเพราะเวลาคลอดนั้นเป็นเวลาสุริยุปราคามืดมิดไปทั่วเมือง)
- (๓) ท้าวสุทนต์มณี หรือท้าวทนต์ (ปรากฏในพงศาวดารว่าเหตุที่ชื่อท้าวสุทนต์มณี เพราะเวลาตั้งครรภ์บิดาฝันว่าฟันของตนได้เกิดเป็นแก้วมณีขึ้น)
ฝ่ายเจ้าสุทนต์มณีเจ้าเมืองเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพกรุงยกมาก็ดำริเห็นว่า เราเป็นเมืองน้อยมีกำลังน้อยไม่สามารถต้านทานกำลังของกองทัพกรุงได้ ถ้าหากมีการต่อสู้กันขึ้นมา คงเป็นฝ่ายย่อยยับจึงอพยพครอบครัวออกไปอยู่ที่ทุ่งตะมุม (หรือขมุม หรือกระหมุม ที่นั่นได้เรียกว่าดงเมืองจอกมาจนทุกวันนี้) ในครั้งนั้นมีประชาชนที่จงรักภักดีติดตามเจ้าสทนต์มณีไปอยู่ที่ทุ่งตะมุมด้วยเป็นจำนวนมาก
ครั้นพระยาพรหม พระยากรมท่ามาถึงเมืองทงเมื่อทราบว่าเจ้าทนต์มณีได้หนีไปแล้ว จึงมีใบบอกขอตั้งเจ้าเชียงเป็นเจ้าเมือง ให้เจ้าสูนเป็นอุปราช ได้โปรดพระราชทานตามที่ขอ แต่นั้นมาเมืองทง (ทุ่ง) ก็เป็นอันขาดจากความปกครองของเมืองนครจำปาศักดิ์ ครั้นเรียบร้อยแล้วพระยาพรหม พระยากรมท่าก็ออกไปตั้งสำนักอยู่ที่ทุ่งสนามโนนกระเบา (ในท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ)
- สร้างบ้านร้อยเอ็ด
ต่อจากนั้นพระขัติยะวงศา (สุทนต์มณี) ได้เริ่มอำนวยการให้ราษฎรแผ้วป่าดงกุ่มสร้างเมืองใหม่ตามมีพระบรมราชโองการ ต่อจากนั้นก็มีการสร้างวัดวาอาราม ปรับปรุงบ้านเมืองในด้านการปกครองการศาสนาตลอดจนส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎรให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
***
(เหตุที่ให้นามว่า ขัติยะวงษา เพราะเจ้าแก้วมงคลต้นตระกูลเป็นผู้สืบสายจากกษัตริย์เวียงจันทน์)

- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- อาณาเขตเมืองร้อยเอ็ด
ทิศใต้ จดทุ่งลาดไถ ไปอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก จดลำน้ำยัง ภูพาน
ทิศตะวันตก จดอำเภอภูเวียง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- การปกครองร้อยเอ็ดสมัยโบราณ
ระบบอาญาสี่ หมายถึง ตำแหน่งปกครองหัวเมืองในภาคอีสานโบราณตามธรรมเนียมล้านช้าง (ลาว) ซึ่งกำหนดตำแหน่งสำคัญไว้ 4 ตำแหน่งคือ
1.เจ้าเมือง
2.อุปราช (อุปฮาด)
3.ราชวงศ์
4.ราชบุตร
ซึ่งตำแหน่งนี้สามารถเลื่อนตำแหน่งกันได้ และส่วนใหญ่จะตั้งคนที่มีเชื้อสายเจ้าเมือง หรือมีเชื้อสายทางราชวงศ์เมืองอื่น ๆ ก็ได้ หากเมืองบริวารที่เล็กกว่า ตำแหน่งอาญาสี่จะเรียกดังนี้
1.เจ้าเมือง
2.อัคราช (อัครฮาด)
3.อัครวงศ์
4.อัครบุตร
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งอื่นแก่ข้าราชการนั้นๆอีกมากมาย เช่น เมืองแสน เมืองจันทร์ และตำแหน่ง เพี้ย ซึ่งเป็นตำแหน่งพิเศษที่เจ้าเมืองเป็นผู้ตั้ง เช่น เพี้ยเมืองแพน (พระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น) เป็นตำแหน่งเพี้ยในเมืองสุวรรรภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ในพ.ศ. 2440 รัชกาลที่ ๕ ทรงประกาศ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ยกเลิกระบบอาญาสี่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร และอื่นๆ มาเป็นผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง ถือเป็นการสิ้นสุดระบบการปกครองแบบอาญาสี่ในเมืองร้อยเอ็ด
- การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล

ใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ทางราชการได้ย้ายกองพลทหารราบที่ ๑๐ จากจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งกองพลทหารราบที่ ๑๐ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด จึงมีถนนสายหนึ่งชื่อถนนกองพล ๑๐ ซึ่งเป็นถนนสู่กองพลดังกล่าว ต่อมาได้ย้ายกรมทหารราบที่ ๒๐ จังหวัดอุดรธานีมารวมในกองพลทหารราบที่ ๑๐ ภายหลังได้ยุบกองพลทหารราบที่ ๑๐ เป็นกองพันทหารม้าที่ ๕ และได้ยุบกองทัพทหารม้าที่ ๕ ไปในที่สุด
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบการปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดิน ทรงนำวิทยาการแผนใหม่จากประเทศตะวันตกมาใช้ ทรงตั้งกระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง มีการแบ่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละกระทรวงให้แน่นอนและมีเสนาบดี รับผิดชอบบริหารงานของแต่ละกระทรวง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยใน หัวเมือง หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงเริ่มการจัดตั้ง มณฑลขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๓๗ โดยรวมหลาย ๆ จังหวัดขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงหรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งก่อนการเปลี่ยนแปลงนี้การปกครองหัวเมืองนั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯเท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคมไปมาลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจกว้างขวาง แต่การจัดตั้งมณฑลนั้นข้าหลวงหรือข้าหลวงเทศาภิบาลขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ปี พ.ศ.๒๔๓๕ ได้จัดตั้งมณฑลขึ้นโดยรวบรวมหัวเมืองเข้าด้วยกันมี ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียง มณฑลลาวพวน มณฑล ลาวกาว มณฑลเขมร มณฑลนครราชสีมาและมณฑลภูเก็ต ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑลลาวกาว ปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้จัดระเบียบบริหารมณฑลแบบใหม่เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี และมณฑลราชบุรี ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากมณฑลแบบเก่าและต่อมาได้ตั้งมณฑลต่าง ๆ ขึ้นอีกคือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลไทรบุรี ( ภายหลังยกให้อังกฤษ เมื่อปี ๒๔๕๐) มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร มณฑลอีสาน มณฑลปัตตานี มณฑลจันทบุรี และมณฑลมหาราช ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑลอีสาน ปี พ . ศ. ๒๔๕๕ ได้แยกมณฑลอีสานเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลร้อยเอ็ดมี เมืองร้อยเอ็ด เมืองกาฬสินธุ์ เมืองมหาสารคาม ปี พ . ศ. ๒๔๖๕ ได้รวมมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร ขึ้นเป็นภาคเรียกว่า ภาคอีสาน ปี พ . ศ. ๒๔๖๙ ยุบปกครองภาคอีสาน ให้จังหวัดในมณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบล ไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา ระบอบมณฑลเทศาภิบาลนี้ได้ยกเลิกไปหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕
การจัดรูปการปกครองในปัจจุบัน เมื่อ เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุขแล้ว รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.๒๔๗๖จัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ และได้ยกเลิกระบอบมณฑลเทศาภิบาล ขณะนั้นจังหวัดร้อยเอ็ดมี ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอจตุรพักตรพิมาน ต่อมาได้แบ่งพื้นที่เป็นอำเภอหนองพอก อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอเมืองสรวง อำเภอโพธิ์ชัย กิ่งอำเภอโพนทราย และกิ่งอำเภอเมยวดี ต่อมาเมื่อได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๙๕ การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยก็เป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับนั้น และถือเป็นหลักหรือรากฐานของการแบ่งส่วนราชการไทยสมัยต่อๆ มา พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ได้ถูกปรับปรุงแก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหาร ราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

- รายนาม เจ้าเมืองผู้ว่าราชการเมือง และ ข้าหลวงบริเวณร้อยเอ็ด
2.พระยาขัติยะวงษา ( สีลัง ธนสีลังกูร ) 2326 – 2389
3.พระขัติยะวงษา ( อินทร์ ธนสีลังกูร ) 2389 – 2392
4.พระขัติยะวงษา ( จันทร์ ธนสีลังกูร ) 2392 – 2408
5.พระขัติยะวงษา ( สาร ธนสีลังกูร ) 2408 – 2419
6.พระขัติยะวงษา ( เสือ ธนสีลังกูร ) 2420 – 2425
7.พระขัติยะวงษา ( เภา ธนสีลังกูร ) 2429 – 2434
8.พ.ท.พระยาพินิจสารา (ทับทิม บุญยรัตพันธุ์) 2434 – 2446
9.พระยาขัติยะวงษาเอกธิกะสตานันท์ (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) 2445 – 2450
10.มหาอำมาตย์โท ม.ล.ธำรงศิริ ศรีธวัช 2455 – 2457
11.มหาเสวกโทพระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุญยเกตุ) 2457 – 2464
- รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
2.อ.ท.พระยาแก้วโกรพ (ทองสุข ผลพันธ์ทิน) 2464 – 2469
3.อ.อ.พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) 2469 – 2470
4.อ.ค.พระนรินทร์ ภักดี (สุข ทังศุภูดิ) 2471 – 2472
5.อ.ท.พระวิจารย์ภักดี (เอี๋ยน โอวาทสาร) 2472 – 2476
6.อ.ท.พระชาติตระการ (ม.ร.ว.จิตร คเณจร ณ อยุธยา) 2476 – 2478
7.หลวงพำนักนิกรชน (อุ่น สมิตตามร) 2478 – 2480
8.พ.อ.พระศรีราชสงคราม (ศรี สุขวาที) 2480 – 2481
9.พระบริบูรณ์วุฒิราษฎณ์ (ชุบ ศรลัมภ์) 2481 – 2486
10.พระบรรณศาตร์สาธร (สง่า คุปตารัตน์) 2487 – 2490
11.หลวงเดิมบางบริบาล (ไชยศรี กุลฑลบุตร) 2490 – 2490
12.นายยุทธ จรัญยานนท์ 2490 – 2494
13.นายสง่า ศุขรัตน์ 2494 – 2495
14.นายสวัสดิ์ พิบูลย์นครินทร์ 2495 – 2496
15.ขุนบำรุงรัตนบุรี (กุหลาบ จูฑะพุทธิ) 2496 – 2496
16.นายสนิท วิไลจิตต์ 2496 – 2497
17.ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิต อักษรสารสิทธิ์) 2497-2500
18.นายกิตติ โยธการี 2500 – 2501
19.นายสมบัติ สมบัติทวี 2501 – 2502
20.นายสมาส อมาสตยกุล 2502 – 2507
21.นายวิญญู อังคณารักษ์ 2507 – 2509
22.ร.ต.ต.ชั้น สุวรรณทรรภ 2509 – 2512
23.นายประจักษ์ วัชรปาน 2512 – 2514
24.นายประมูล ศรัทธาทิพย์ 2514 – 2516
25.พลตรีชาย อุบลเดชประชารักษ์ 2516 – 2516
26.นายประมวญ รังสีคุต 2516 – 2517
27นายประมูล จันทรจำนง 2517 – 2520
28.นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ 2520 – 2520
29.นายศักดา อ้อพงษ์ 2520 – 2522
30.นายปราโมทย์ หงสกุล 2522 – 2524
31.นายธวัชชัย สมสมาน 2524 – 2526
32.นายปรีชา คชพลายุกต์ 2526 – 2528
33.นายปราโมทย์ แก้วพรรณนา 2528 – 2531
34.นายปรีชา พงศ์อิศวรานนท์ 2531 – 2532
35.นายดำรง รัตนพานิช 2532 – 2533
36.นายสุพร สุภสร 2533 – 2534
37.นายฮึกหาญ โตมรศักดิ์ 2534 – 2537
38.นายมานิต ศิลปะอาชา 2537 – 2538
39.นายวีระ เสรีรัตน์ 2538 – 2541
40.นายอัครพงศ์ พยัคฆันตร 2541 – 2543
41.นายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช 2543 – 2544
42.นายกวี มินวงษ์ 2544 – 2546
43.นายนพพร จันทรถง 2546 – 2549
44.นายพินิจ พิชยกัลป์ 2549 - 2551
45.นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ 2551-2552
46. นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ 2552
47.นายธวัชชัย ฟักอังกูร 2552 - 2553
48.นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม 2553 - 2555
49.นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ 2555
48.นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม 2555 -ปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น